ธุรกิจการเงิน คือกระดูกสันหลังสำคัญของระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่ปรับตัวได้โดดเด่นที่สุดในช่วงที่ผ่านมา
ข้อมูลจากเอกสาร Payment Data Indicator โดย ธปท. เผย ปริมาณ e-Payment เดือนมกราคมปี 2565 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ย 320 รายการ/คน/ปี หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 8.3 ล้านล้านบาท สะท้อนถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้ใช้ที่เปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล
ยังมีการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ โดยตัวแปรสำคัญคือการนำเทคโนโลยีCloud, Blockchain, Big Data, Chatbot, AI, Machine Learning, Digital ID [Face recognition] และแพลตฟอร์ม Low-Code ต่าง ๆ มาใช้ เพื่อสร้างสรรค์และปรับแต่งนวัตกรรมการเงิน เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าและพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ
ปัจจุบัน มี FINTECH ที่เป็นสมาชิกของสมาคมฟินเทคประเทศไทยเกือบ 70 บริษัท (อ้างอิงข้อมูลจาก ธปท.)
ขณะที่เทคคอมพานีต่าง ๆ ก็ปรับตัวขยายแพลตฟอร์มทางการเงินกลายเป็น TECHFIN เพื่อเติมเต็มธุรกิจของตนเองประกอบกับเทรนด์ Metaverse ที่กลายเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายใหม่ ๆ เกิดเป็นระบบนิเวศทางการเงินแห่งอนาคต “Financeverse”
โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำคัญของธุรกิจการเงินสู่ Financeverse
นอกจากนวัตกรรมการเงินที่ตอบโจทย์การใช้งาน Tech Talents & Skill sets ใหม่ ๆ ก็ถือเป็นอีกโครงสร้างพื้นฐานที่ธุรกิจการเงินมองข้ามไม่ได้
ยังมีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอื่น ๆ อาทิ เครือข่ายที่รวดเร็วและมีความเสถียร, IT โซลูชั่นและเทคโนโลยีคลาวด์ที่สามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ, ระบบ Cybersecurity ที่ทันสมัย ปกป้องหลายชั้น, และพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล ที่มีความน่าเชื่อถือและปรับขนาดได้
ไปจนถึงความมั่นคงด้านพลังงาน ด้วยกำลังไฟฟ้าที่รองรับการดำเนินงานตลอด 24×7 และระบบสำรองพลังงานเต็มรูปแบบใน Hyperscale Data Center
ทำไม Hyperscale Data Center ถึงมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเงินไปสู่ “Financeverse”
ปริมาณดาต้าที่เพิ่มขึ้นมหาศาล ซับซ้อน และข้อมูลลูกค้าที่ถือเป็น “สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีค่าสูงสุด” ที่จะนำมาใช้วิเคราะห์และวางแผนธุรกิจ เพื่อกำหนดกลยุทธ์การตลาด ออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินใหม่ ๆ ได้อย่างเหมาะสมในเวลาที่ใช่
อ้างอิงจาก Techjuly การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Big Data ในธุรกิจธนาคารทั่วโลก คาดว่าจะมีมูลค่ามากถึง 6.2 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.8 แสนล้านบาท) สอดคล้องกับปริมาณการใช้ดาต้าเน็ตมือถือที่เติบโตสัมพันธ์กัน โดยStatista คาดว่าในปี 65 นี้ ทั่วโลกจะมีการใช้มากถึง 77.5 เอกซะไบต์ (Exabyte) นับเป็นดาต้ามหาศาลที่ต้องจัดเก็บ
นายศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรนาถ สิงหรา ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอสที เทเลมีเดีย โกล บอล ดาต้าเซ็นเตอร์(ประเทศไทย) หรือ STT GDC Thailand กล่าวว่าการมี ดาต้าเซ็นเตอร์ ระดับไฮเปอร์สเกล จะช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้มั่นคง ปลอดภัยและยั่งยืน ทำให้กระบวนการเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและเข้มแข็ง
ก่อนเสริมว่า การสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ที่ตอบโจทย์ จะต้องมองให้รอบด้านทั้ง ‘มาตรฐานความปลอดภัย’ (Security) และ‘ประสิทธิผล’ (Efficiency) เป็นหลัก
เหตุผลสำคัญที่ภาคการเงินควรพิจารณาความได้เปรียบจากการใช้ Hyperscale Data Center มี 3 ประการ ได้แก่
1) Scale ปรับขนาดได้ตามความต้องการของธุรกิจ รองรับปริมาณการใช้/เก็บดาต้าปริมาณมหาศาลและทวีจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วได้
2) Advance Secure มีความปลอดภัยขั้นสูงสุดทั้งรูปแบบ Physical & Virtual
3) ตอบโจทย์ ESG (Environmental Social and Governance) ที่กำลังเป็นข้อกำหนดพื้นฐานระดับโลกและเป็นกลยุทธ์สำคัญในการทำธุรกิจและการลงทุน
3 มาตรฐานสำคัญใน Hyperscale Data Center ที่ช่วยหนุนการเติบโตธุรกิจการเงิน
- Data Center Designs ปัจจุบันตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ในไทย จะใช้มาตรฐานสากลของ Uptime Institute Tier III Certification เป็นหลัก มุ่งเน้นการประเมินและรับรองดาต้าเซ็นเตอร์ที่ทำงานต่อเนื่อง แม้อยู่ระหว่างการบำรุงรักษา หรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ ขณะที่ STT GDC Thailand ยังเป็นผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์รายแรกของไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน TIA-942 Certification Rated-3 ซึ่งรองรับความปลอดภัยทางกายภาพรวมถึงระบุบริบทแวดล้อม ว่าเป็นทำเลยุทธศาสตร์หรือไม่ เหมาะสม หรือมีความเสี่ยงจากอุบัติภัยต่าง ๆ หรือไม่มาตรฐาน TIA-942 ยังลงลึกถึงระดับการปฏิบัติการ ทั้งระดับการใช้พลังงาน มาตรฐานของอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะมุ่งเน้นในเรื่องประสิทธิผล
- Data Center Security ที่ต้องครอบคลุมไปถึงมาตรฐาน TVRA (ภัยคุกคามทางกายภาพ), ISO27000 (การปกป้องข้อมูลและจัดการความเสี่ยงสำหรับดาต้าเซนเตอร์) และ PCI-DSS (ความต้องการด้านความปลอดภัยของข้อมูลของลูกค้า)
- Green Energy STT GDC เป็นผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์รายแรก ๆ ที่ให้ความสำคัญกับประสิทธิผล และมาตรฐานการใช้พลังงาน ทั้งน้ำ ไฟฟ้า รวมถึงคุณภาพอากาศภายในโครงการ และได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียว LEED Gold มาตรฐานดังกล่าวจะช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์หันมาใช้ Green Energy มากขึ้น จากปัจจุบันที่ราว 2% เมื่อเทียบกับพลังงานรูปแบบอื่น โดย STT GDC ยังตั้งเป้าหมายด้านความยั่งยืน ในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ให้เหลือศูนย์ภายในปี 2573
ในวันที่ทั่วโลก ได้ผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นตัวเร่งในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล วิถีชีวิตรูปแบบใหม่ นำไปสู่ข้อมูลมหาศาล ที่ถูกขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น AI, IoT, นวัตกรรมของระบบคลาวด์
สิ่งที่ตามมา คือโซลูชั่นต่าง ๆ ที่ผลักดันให้การรักษาความปลอดภัยดิจิทัลและความสามารถในการปรับขนาดธุรกิจ มีสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเงินที่เป็น Backbone สำคัญของระบบเศรษฐกิจใหม่
และนำไปสู่ความมั่นใจในระบบดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกล ที่เป็นหัวใจสำคัญของการจัดเก็บข้อมูล ที่สามารถกำหนดแนวทางความสำเร็จของธุรกิจในอนาคตได้ชัดเจนและยั่งยืน
AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า