เพราะการทำ Blitzscaling เกิดขึ้นในช่วงที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน การบริหารจัดการด้วยศาสตร์แบบธุรกิจดั้งเดิม ถึงไม่เหมาะกับกลยุทธ์นี้
สตาร์ทอัพที่โตเป็นองค์กรระดับโลก อย่าง Google, PayPal หรือ Facebook ต่างก็เคยทำใน “สิ่งที่คนอื่นไม่ทำ” มาแล้วทั้งนั้น
ในหนังสือ Blitzscaling : “The Lightning-Fast Path to Building Massively Valuable Companies” รีด ฮอฟฟ์แมน ก็บัญญัติกฎที่ขัดกับศาสตร์ธุรกิจดั้งเดิม หรือ Counterintuitive Rules
ซึ่งมีตั้งแต่ การปล่อยผลิตภัณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์สู่ตลาด การละเลยไม่ใส่ใจลูกค้า การจ้างและเปลี่ยนคนเมื่อ “ไม่เหมาะ” กับองค์กร ฯลฯ รวมทั้งสิ้น 9 ข้อ
แต่ในที่นี้ เราจะยกเฉพาะบางข้อมาพูดถึงกัน ให้เห็นตัวอย่างว่าทำไม “การทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ” ถึงเหมาะกับการโตสายฟ้าแลบ
สินค้าที่น่าอาย
ฮอฟฟ์แมน เคยบอกว่า ถ้าไม่เคยรู้สึกอายกับสินค้าเวอร์ชั่นแรกที่ปล่อยออกไป แปลว่าคุณปล่อยสินค้าตัวนั้น ช้าเกินไป
ในการโตสายฟ้าแลบ ที่เน้นความเร็ว คุณจึงต้องปล่อยผลิตภัณฑ์สู่ตลาด ในแบบแค่ “พอใช้ได้” หรือ minimum viable product (MVP) เพื่อเรียนรู้ฟีดแบ็กจากผู้ใช้งาน แล้วค่อยนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น
เหมือน “Backrub” เสิร์ชเอ็นจินยุคแรกของ Google ที่มีข้อจำกัดมากมาย หรือแม้แต่ชื่อของมัน ซึ่งไม่ได้บ่งบอกเลยว่าเป็นบริการอะไร ก่อนจะพัฒนาต่อเนื่องมาจนเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
สิ่งที่ ฮอฟฟ์แมน ต้องการสื่อ คือถ้าสุดท้ายแล้ว ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จ ก็ไม่มีใครจำได้ว่าสินค้าตัวแรกของคุณแย่ขนาดไหน
กลับกัน ถ้าธุรกิจของคุณล้มเหลว ก็ยิ่งไม่มีใครเสียเวลาพูดถึงมันด้วยซ้ำ
เมินผู้บริโภค
ในการทำธุรกิจแบบเดิม เราอาจยึดติดกับประโยค “ลูกค้าคือพระเจ้า”
แต่นั่นไม่ใช่แนวทางที่ ฮอฟฟ์แมน แนะนำ อย่างน้อยก็ในช่วงเริ่มต้น
เพราะเมื่อคุณตั้งใจปั้นธุรกิจให้โตแบบก้าวกระโดด สิ่งที่ต้องทำ คือโฟกัสทรัพยากรทั้งหมดไปที่เรื่องนั้น อย่าเพิ่งใส่ใจการให้บริการลูกค้ารายยิบรายย่อย ซึ่งอาจทำให้เป้าหมายของคุณไขว้เขว
ฮอฟฟ์แมน เล่าว่า PayPal ยุคแรก ไม่มีบริการหลังการขายเลย เพราะเขารู้ว่าถ้ามัวแต่แก้ปัญหาให้ลูกค้ากลุ่มเล็ก ๆ คุณก็จะไม่มีเวลาและทรัพยากรเหลือพอ สำหรับโฟกัสเป้าหมายที่ใหญ่กว่า
แต่อย่าลืมว่าเมื่อไหร่ที่ธุรกิจครองตลาดได้แล้ว ก็ต้องหันกลับมาสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้ลูกค้าด้วย
จ้างคนที่ใช่ ตอนนี้ เดี๋ยวนี้
อย่าเพิ่งพูดถึงเรื่อง career path กับคนในองค์กร ถ้าบริษัทคุณยังไม่โตพอ
เมื่อคุณตัดสินใจจะเร่งโต ก็ต้องเน้นจ้างคนเก่ง ที่เหมาะกับองค์กร “ณ เวลานั้น” เพราะองค์กรที่กำลังโต กับองค์กรที่ลงหลักปักฐานแล้ว มีลักษณะต่างกัน
หลายครั้ง การจ้างมืออาชีพที่ถนัดมาทำงานให้ แลกกับค่าจ้างสูง ๆ หรือส่วนแบ่งหุ้น ก็อาจเป็นเรื่องต้องทำ
เหมือนที่ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ดึง เชอรีล แซนด์เบิร์ก มาเป็นซีโอโอในช่วงที่บริษัทกำลังเริ่มโต เพราะหวังใช้ประสบการณ์จากที่ Google มาช่วย และ แซนด์เบิร์ก ก็มีส่วนช่วยให้ Facebook โต จนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้ในที่สุด
และเมื่อถึงเวลาที่องค์กรต้องมุ่งสู่ทิศทางใหม่ แซนด์เบิร์ก กับ ซัคเคอร์เบิร์ก ก็แยกย้ายไปตามทาง
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ “การทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ” ตามกลยุทธ์ Blitzscaling
สำหรับผู้ที่ต้องการทำความเข้าใจกลยุทธ์โตสายฟ้าแลบนี้แบบเจาะลึก
ในวันที่ 30-31 สิงหาคมนี้ คริส เยห์ (Chris Yeh) ผู้ร่วมเขียนหนังสือ Blitzscaling : The Lightning-Fast Path to Building Massively Valuable Companies ที่ขายดีระดับโลก
และ เจฟฟ์ แอบบอทท์ (Jeff Abbott) ผู้ร่วมก่อตั้ง Blitzscaling Academy และผู้บริหารกองทุน Blitzscaling Ventures
จะเดินทางมาจัด MasterClass 2 วันเต็ม ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กรุงเทพฯ พร้อมโอกาสพิเศษในการพูดคุยกับ ฮอฟฟ์แมน ในช่วง Ask Me Anything ด้วย
ดาวน์โหลดโบรชัวร์สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม
https://bit.ly/RISEBlitzscaling
สมัครเรียน:
Call: 095-245-6961
Email: supakit.k@riseaccel.com
AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า