Blizscaling

โตสายฟ้าแลบแบบ Zara เจ้าพ่อ Fast Fashion กับ Blitzscaling

ถึงการทำ Blitzscaling ส่วนใหญ่ จะมาจากบริษัทด้านเทคโนโลยี แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมอื่นไม่ได้

Zara ผู้นำด้าน fast fashion จากสเปน คือตัวอย่างของธุรกิจ ซึ่งเติบโตและขยายไปทั่วโลก ด้วยแนวคิดหลายอย่าง ที่เชื่อมโยงกัน

โดยเฉพาะการเลือกความเร็วเหนือความสมบูรณ์แบบ

มาดูกันว่า Zara ทำยังไง ถึงโตสายฟ้าแลบได้

 

ไม่ต้องเป็นบริษัทเทคโนโลยี ก็ Blitzscaling ได้

การเลือกเทคนิคบางอย่างของ Blitzscaling มาใช้ เป็นเรื่องที่ทำได้ ถ้าคุณมองปัจจัยการเติบโตของธุรกิจนั้นออก

ซึ่งมีตั้งแต่ ขนาดของตลาด การกระจายสินค้า ส่วนต่างกำไร ไปจนถึงพลังของเครือข่าย ฯลฯ

และหาวิธีเอาชนะข้อจำกัดด้านการเติบโต เช่น สมดุลระหว่างตลาดและผลิตภัณฑ์ หรือ การขยายกำลังการผลิต ฯลฯ

มาดูกันว่า อมานโช่ ออร์เตก้า ผู้ก่อตั้ง Zara ทำได้อย่างไร จนเป็นที่ของอาณาจักร Fast Fashion ที่มีมูลค่าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ

 

เจาะตลาดใหญ่ กำไรสูง

ในเรื่องปัจจัยการเติบโต Zara มีหลายเรื่องที่สอดคล้องกับแนวคิดโตสายฟ้าแลบ

อย่างแรก คือการเลือกโตในตลาดขนาดใหญ่ เพราะการโตสายฟ้าแลบนั้น เป็นการมุ่งตอบโจทย์คนหมู่มาก

ตลาดเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่ Zara เลือก ตรงกับข้อนี้ เพราะมีมูลค่าการซื้อขายในปี 2016 ถึง 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ และนับวันมีแต่จะเติบโตขึ้น

อีกเรื่อง คืออัตรากำไรขั้นต้นที่สูงมากในระดับไล่เลี่ยกับสินค้าดิจิทัล

ยกตัวอย่างในปี 2017 ที่ Zara ระบุว่า มีอัตรากำไรขั้นต้นต่ำสุดในรอบสิบปี ก็ยังอยู่ที่ 57% สูงกว่า Amazon (35%) และเกือบเท่า Google (61%)

แม้ธุรกิจเสื้อผ้า จะไม่มีข้อได้เปรียบเรื่อง Network Effects เหมือนสินค้า/บริการดิจิทัล แต่ก็ชดเชยได้ด้วยความภักดีต่อแบรนด์ ที่ช่วยให้ Zara กุมความได้เปรียบในตลาดนี้ไว้

 

ความเร็ว คือหัวใจ

ความเร็วที่มาก่อนความสมบูรณ์แบบ คือเทคนิคสำคัญของ Blitzscaling

เพราะขณะที่แบรนด์แฟชั่นอื่นใช้เวลา 6 เดือน กว่าสินค้าหนึ่งคอลเลกชั่น จะผ่านกระบวนการต่าง จนถึงมือลูกค้า

Zara ใช้เวลาแค่ 2 สัปดาห์เท่านั้น

จนสามารถวางตลาดเสื้อผ้าแบบใหม่ ๆ ได้เกินกว่าหมื่นดีไซน์ในเวลาหนึ่งปี

ด้วยการชนะข้อจำกัดด้านการขยายการผลิต โดยทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ

ซึ่งเป็นอีกแนวคิดสำคัญของ Blitzscaling ที่เราพูดถึงไปแล้วเช่นกัน

 

Zara ไม่ได้ย้ายฐานการผลิตไปที่จีน เพื่อเน้นเพิ่มกำลังการผลิต เหมือนแบรนด์อื่น

แต่เลือกผลิตในสเปนเป็นหลัก เพราะสินค้าของ Zara แต่ละล็อต ผลิตในจำนวนไม่มาก และมีการเปลี่ยนแปลงดีไซน์ตลอด

การเลือกผลิตในสเปน จึงควบคุมเรื่องเหล่านี้ได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับการเอาท์ซอร์สไปอีกทวีป

แม้จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า ทั้งในแง่การผลิต และการขนส่ง แต่ก็ทำให้กระบวนการโดยรวมรวดเร็วขึ้น

และสำคัญที่สุด คือกำจัดปัญหาใหญ่ที่กระทบอัตรากำไรขั้นต้น ที่เกิดกับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

เพราะสินค้าส่วนใหญ่ของ Zara ขายหมด และไม่ต้องปวดหัวกับสินค้าคงเหลือในคลัง

 

Fast Fashion

Passanten gehen mit Einkaufstüten der Modekette Zara durch die Innenstadt von Hamburg.

กระบวนการผลิตที่ว่ามา มีขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามไอเดียของ ออร์เตก้า นั่นคือการผลิตเสื้อผ้าแต่ละดีไซน์ในปริมาณน้อย และวางขายในเวลาจำกัด

จึงทำให้ช่วงใกล้หมดฤดูกาล Zara แทบไม่เหลือสินค้าคงคลังที่ต้องเอามาลดราคามากเหมือนคู่แข่ง

ในแง่จิตวิทยา นี่ยังเป็นการปรับพฤติกรรมลูกค้า ให้รู้ว่าถ้าเห็นเสื้อผ้าที่ถูกใจ แล้วไม่ตัดสินใจในทันที ก็อาจจะพลาดโอกาสไปเลย

และยังสามารถกระตุ้นลูกค้า ให้แวะกลับมาที่ร้านบ่อย ๆ เผื่อว่าจะพบดีไซน์ใหม่ที่ถูกใจ

จนเป็นที่มาของ Fast Fashion และแนวทางที่ส่งให้ Zara โตแบบสายฟ้าแลบ เป็นหนึ่งในเครือข่ายร้านเสื้อผ้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลก

 

สำหรับผู้ที่ต้องการทำความเข้าใจกลยุทธ์โตสายฟ้าแลบนี้แบบเจาะลึก

ในวันที่ 30-31 สิงหาคมนี้

คริส เยห์ (Chris Yeh) ผู้ร่วมเขียนหนังสือ Blitzscaling : The Lightning-Fast Path to Building Massively Valuable Companies ที่ขายดีระดับโลก

และ เจฟฟ์ แอบบอทท์ (Jeff Abbott) ผู้ร่วมก่อตั้ง Blitzscaling Academy และผู้บริหารกองทุน Blitzscaling Ventures

จะเดินทางมาจัด MasterClass 2 วันเต็ม ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กรุงเทพฯ

พร้อมโอกาสพิเศษในการพูดคุยกับ ฮอฟฟ์แมน ในช่วง Ask Me Anything ด้วย

ดาวน์โหลดโบรชัวร์สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม

https://bit.ly/RISEBlitzscaling

สมัครเรียน:

Call: 095-245-6961

Email: supakit.k@riseaccel.com

#Blitzscaling #RISE

AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article
อีสท์สปริง

อีสท์สปริง ชูสามเสาหลัก สู่ตัวเลือกการลงทุนอันดับต้นของคนไทย

Next Article
KFLTPC-UI

กรุงศรี จับมือ แบล็คร็อค เปิดตัว KFLTPC-UI กองทุนหุ้น Private Equity

Related Posts