ทำไมต้องโตสายฟ้าแลบ? 3 สิ่งที่คุณต้องรู้ โดย คริส เยห์ ผู้ร่วมเขียนตำรา Blitzscaling

จากหลาย บทความที่ผ่านมา หลายคนน่าจะเห็นภาพการทำ Blitzscaling บ้างแล้ว

(ย้อนไปอ่านตอนเก่า ๆ ได้ที่นี่)

 

แต่เพื่อให้เข้าใจ หรือเห็นมุมมองอื่น จากตัวผู้เขียนโดยตรง

เร็ว นี้คริส เยห์ผู้ร่วมเขียนหนังสือ ‘Blitzscaling’ ได้ไปพูดคุยกับ เคน นครินทร์ ในพอดแคสต์ ‘The Secret Sauce’ เพิ่มเติมอีกหลายประเด็น

เช่น ทำไม Blitzscaling ถึงเหมาะกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบนี้

และธุรกิจแบบไหนที่ควรเร่งโตสายฟ้าแลบ แบบไหนที่ไม่ควร

หรือแม้แต่ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น แม้คุณจะเป็นผู้ชนะในตลาดนั้น แล้ว

ฯลฯ

 

ซึ่งเราได้ถอดความ และสรุปบางส่วนที่น่าสนใจมาให้อ่านกันในที่นี้แล้ว

 

คริส เยห์ คือใคร?

เทียบกับ รีด ฮอฟฟ์แมน แล้ว คริส อาจไม่เป็นที่รู้จักมากเท่า

แต่ในซิลิคอน แวลลีย์ และวงการสตาร์ทอัพ คริส คือผู้คร่ำหวอด ที่อยู่ในแวดวงนี้ มากว่าสองทศวรรษ

ทั้งในฐานะนักลงทุน VC, ที่ปรึกษา, เมนเทอร์, สปีกเกอร์ ในงานคอนเฟอเรนซ์ต่าง ๆ รวมถึงบทบาทสำคัญในฐานะผู้ร่วมเขียนหนังสือ Blitzscaling กับ ฮอฟฟ์แมน ด้วย

และในวันที่ 30-31 สิงหาคมนี้

คริส จะเดินทางมาสอนให้คุณรู้จักการโตสายฟ้าแลบให้ลึกซึ้งขึ้น ใน The MasterClass by RISE ด้วย

 

Blitzscaling คืออะไร? และทำไมถึงเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน

คริส อธิบายไว้ว่า ‘Blitzscaling’ คือการไล่ล่าการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยให้ความสำคัญกับความเร็วก่อนประสิทธิภาพ

เพราะแก่นแนวคิดของมัน คือการที่ผู้ชนะจะเป็นผู้ครองตลาด (Winner Takes All)

และช่วงเศรษฐกิจที่ซบเซาแบบนี้ คือเวลาที่เหมาะสมเป็นอย่างมากสำหรับการใช้กลยุทธ์นี้

เพราะมันคือช่วงเวลาที่ทุกอย่างกลับมาสู่ความไม่แน่นอนอีกครั้ง ทำให้สิ่งที่คนส่วนใหญ่เลือกทำ คือลดความเสี่ยงให้น้อยลง

 

แต่ถ้าเราย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์เก่า ๆ จะเห็นว่าบริษัทระดับโลก มักมีจุดเริ่มต้นในช่วงเวลาแบบนี้

เช่น LinkedIn และ Facebook ที่ก่อตั้งหลังเหตุการณ์ฟองสบู่ไอทีแตกได้ไม่นาน

หรือ Airbnb ก็เกิดขึ้นมาในช่วงที่โลกต้องเผชิญวิกฤตซับไพรม์

ซึ่งบริษัททั้งหมดที่กล่าวมา ก็ได้ฉกฉวยโอกาสนี้ และเติบโตเป็นบริษัทระดับโลกในเวลาต่อมา

 

แน่นอนว่าการขยายธุรกิจในช่วงเศรษฐกิจซบเซาแบบนี้เป็นเรื่องยาก แต่มันคือโอกาสที่เราไม่ควรพลาดจะคว้าไว้

 

ไม่ใช่กลยุทธ์สำหรับทุกคน

คริส อธิบายต่ออีกว่า ‘Blitzscaling’ ไม่ได้เป็นวิธีที่เหมาะกับทุกบริษัท แต่เหมาะกับบริษัทที่มีแผนจะเป็นเจ้าตลาดเท่านั้น

ซึ่งการครองตลาด ไม่ได้จำกัดอยู่แค่บริษัทเทคโนโลยี เพราะบริษัทที่ทำธุรกิจในด้านอื่นก็สามารถใช้กลยุทธ์นี้ได้

แต่ที่สำคัญคือต้องหาให้เจอว่าจะกินรวบในตลาดที่มองไว้อย่างไร

เพราะการจะเร่งโตอย่างเดียว โดยไม่ได้สร้างความแตกต่างใด มักจะสร้างผลเสียมากกว่าผลดี

 

กรณีศึกษาสำคัญบริษัทหนึ่งคือ WeWork

ที่เร่งแต่ขยายธุรกิจ โดยไม่ได้สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งอื่นที่อยู่ในธุรกิจ co-working space ด้วยกัน นอกจากการสู้ในสงครามราคา

ทำให้ในท้ายที่สุด WeWork ก็เจอปัญหาสารพัด

เพราะหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของ Blitzscaling คือธุรกิจนั้น ต้องมีอัตรากำไรขั้นต้นสูง

แต่การเน้นขยายฐานผู้ใช้ ด้วยงบการตลาดและตัดราคา ซึ่งไม่เหมาะกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ทำให้ย่ิงมีผู้ใช้เพิ่มมากเท่าไหร่ กลายเป็นว่าบริษัทฯ ยิ่งสูญเสียรายได้

 

และเมื่อสุดท้าย บริษัทฯ ไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายไหว ก็ทำให้เกิดปัญหาอื่น ตามมา จนต้องถอนตัวจากการทำ IPO ในที่สุด

ซึ่งกรณีดังกล่าว ยากที่จะเกิดขึ้น หากเราสามารถสร้างคุณค่าจาก ‘Network Effect’ ได้

จนไม่มีใครสนใจสินค้าแบบเดียวกันของคู่แข่ง และส่งให้เราเป็นผู้ชนะในที่สุด

 

วิธีหนึ่งที่คริสแนะนำในการตัดสินใจ คือดูที่ความถี่และความเข้มข้นในการใช้งานสินค้าตัวนั้น

ถ้ามีมากแปลว่าเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง ซึ่งเมื่อหาเจอแล้ว ก็ต้องพยายามขยายไปสู่กลุ่มลูกค้าใหม่

เพื่อให้เกิดการใช้งานในวงกว้าง จึงจะคุ้มกับความเสี่ยงที่ต้องเจอ

 

ไม่ยึดติดความสำเร็จ ต้องพัฒนาต่อ

หนึ่งในคำถามที่น่าสนใจจากเคน นครินทร์คือ อะไรที่เป็นเรื่องผิดพลาดมากที่สุด สำหรับธุรกิจที่ทำ Blitzscaling?

คำตอบของคริส คือ การคิดไปว่าทำสำเร็จครั้งเดียว แล้วจะเก็บผลประโยชน์จากมันได้ตลอด โดยไม่ต้องเปลี่ยนอะไร

เพราะในความเป็นจริง เมื่อเวลาผ่านไป พฤติกรรมของผู้บริโภค ก็จะเปลี่ยนตาม

การจะเป็นผู้ชนะอย่างต่อเนื่องในตลาด จึงต้องมีทัศนคติที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้

และไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปตลอด

 

คริส อธิบายต่อไปอีกว่า คนที่ไม่ยึดติดจะมองเห็นโอกาสใหม่ เสมอ

ย้อนไปก่อนหน้านี้ คนส่วนใหญ่มักคิดว่าไม่มีทางชนะ IBM, Microsoft หรือ Facebook ได้

แต่สุดท้ายมันจะมีทางเลือกใหม่ เกิดขึ้นตามมาในที่สุด

โดยคริสยังฝากถึงผู้ประกอบการคนไทย ว่า ให้พยายามคิดและมองให้ไกลเข้าไว้

เพราะอนาคต โลกเราจะมีความเป็น global มากขึ้น

โปรดักต์ต่าง ก็สามารถไปสู่ระดับสากลได้ง่ายกว่าเดิม

การคิดสินค้าหรือบริการให้เหมาะกับตลาดใหญ่ จึงเป็นสิ่งที่เราเริ่มต้นทำได้ตั้งแต่ก้าวแรก

 

นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่เราถอดความ และสรุปจากการพูดคุยระหว่างเคนกับคริส

แต่ถ้าคุณอยากเข้าใจแก่นแท้ของกลยุทธ์นี้ให้ดีขึ้น

ในวันที่ 30-31 สิงหาคมนี้ คริส ผู้ร่วมเขียนหนังสือ ‘Blitzscaling : The Lightning-Fast Path to Building Massively Valuable Companies’

และเจฟฟ์ แอบบอทท์’ (Jeff Abbott) ผู้ร่วมก่อตั้ง ‘Blitzscaling Academy’ และผู้บริหารกองทุน‘Blitzscaling Ventures’

จะบินตรงมายังกรุงเทพฯ เพื่อจัด MasterClass 2 วันเต็ม เป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้!

พร้อมโอกาสสุดพิเศษในการพูดคุยกับรีด ฮอฟฟ์แมนในช่วง Ask Me Anything


ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง https://bit.ly/RISEBlitzscaling

หรือสมัครเรียนตอนนี้ที่:

Call: 095-245-6961

Email: supakit.k@riseaccel.com

AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้าAttachment.png

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article
PLAY-2-EARN HYBRID EXPO

PLAY-2-EARN HYBRID EXPO งานรวมบุคลากร P2E INDUSTRY ที่ใหญ่ที่สุด

Next Article
เอริค คันโตนา

CARSOME ดึง เอริค คันโตนา เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ พร้อม Meet & Greet ก.ย. นี้

Related Posts