NIA

NIA ผนึก 9 พันธมิตร จัด AgTech Connext 2022 ดันไทยผู้นำเทคโนโลยีเกษตร

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA จับมือ 9 เครือข่ายพันธมิตร จัดโครงการ AgTech Connext 2022 ผลักดันนวัตกรรมจาก 12 สตาร์ทอัพไทยสู่การใช้งานจริง ต่อยอดสู่การเป็นผู้นำอาเซียนด้านเทคโนโลยีการเกษตร

 

จุดเริ่มต้น และความร่วมมือจากพันธมิตร

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA อธิบายถึงที่มาของการจัดงานนี้ ว่า สตาร์ทอัพเทคโนโลยีการเกษตร (AgTech startup) เป็นหนึ่งในสาขาที่มีโอกาสเติบโตสูง เพราะเป็นตลาดสากลที่มีขนาดใหญ่และมีแนวโน้มการเติบโตสูงขึ้นจากความต้องการความมั่นคงทางอาหาร

เห็นได้จากตัวเลขในปี 2564 ที่มีมูลค่าการลงทุนทั่วโลก 3.7 แสนล้านบาท แต่ในไทยพบว่า ปี 2565 สตาร์ทอัพกลุ่มนี้มีเงินลงทุนรวมประมาณ 1,200 ล้านบาท คิดเป็นเพียงร้อยละ 0.32 ของทั่วโลกเท่านั้น

NIA มองว่านี่เป็นเรื่องที่ต้องเร่งสนับสนุน และผลักดันให้เกิดการเติบโตของสตาร์ทอัพเทคโนโลยีการเกษตรไทย เพื่อดึงดูดการลงทุนในภาคส่วนนี้มากขึ้น

ผ่านการสร้างสตาร์ทอัพและระบบนิเวศที่เหมาะสม ผ่านความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร เพื่อให้AgTech ไทย มีโอกาสร่วมงานกับทุกภาคส่วนของระบบ

ดร. พันธุ์อาจ เสริมว่ากิจกรรม Demo Day ที่จัดขึ้นผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรทั้ง 9 ประกอบด้วย

    • หน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมส่งเสริมการเกษตร / กรมการข้าว / กรมประมง / กรมปศุสัตว์)
    • หน่วยงานสนับสนุนด้านเงินทุน (... / บริษัท อินโนสเปรซ (ประเทศไทย) จำกัด)
    • หน่วยงานเชื่อมต่อกับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร (สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย / สภาหอการค้าไทย)
    • หน่วยงานสนับสนุน (บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด)

ตลอดระยะเวลาสามเดือน สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการสามารถแก้ไขและปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานทั้งเรื่องเทคนิคและกลยุทธ์การตลาด จนสามารถขยายกลุ่มผู้ใช้บริการจากเพิ่มขึ้นถึง 25 เท่า มีรายได้เพิ่มขึ้น 15 ล้านบาท” ดร. พันธุ์อาจ กล่าว

 

6 นวัตกรรมจาก 12 สตาร์ทอัพ

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม NIA ได้แนะนำสตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 12 ราย ซึ่งนำเสนอเทคโนโลยีการเกษตร 6 รูปแบบด้วยกัน ประกอบด้วย

นวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาด้านปศุสัตว์ ประเภทโคเนื้อ โคนม

สยามโนวาส เทคโนโลยีผสมเทียมจากน้ำเชื้อแช่แข็ง เพื่อเพิ่มการติดลูกและให้ได้ลูกโคเพศเมียตามที่ต้องการอัตราสูงร้อยละ 70

เซียนวัว แพลตฟอร์มบริหารจัดการข้อมูลฟาร์มโคเนื้อ โคนม ให้เกษตรกรตรวจสอบข้อมูล ทั้งรอบผสมพันธุ์การคลอด แบบย้อนกลับได้ และเป็นพื้นที่ตลาดสำหรับซื้อขายออนไลน์

นวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาด้านพืชเศรษฐกิจ ประเภทข้าวและอ้อย

อีซี่ไรซ์ สร้างเครื่องตรวจสอบคุณภาพข้าวด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ที่จะประกันการปลอมปนและตรวจสอบคุณภาพข้าวได้อย่างรวดเร็วขึ้น เป็นธุรกิจพร้อมขยายผลสู่กลุ่มธัญพืช

ออนเนียนแชค ระบบจำแนกเกรดอ้อยด้วยเทคโนโลยีการประมวลภาพและปัญญาประดิษฐ์ที่พิสูจน์ได้อย่างชัดเจนและแม่นยำ เพื่อลดข้อถกเถียงการแยกเกรดระหว่างโรงงานและชาวไร่ รวมถึงปัญหาการประเมินราคารับซื้อหน้าโรงงานอ้อย

นวัตกรรมเพื่อการเพาะเห็ด

โซมัส ระบบการเพาะเห็ดประสิทธิภาพสูง และการควบคุมโรงเรือนเพื่อให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า พร้อมรับซื้อผลผลิตเพื่อแปรรูปและสร้างตลาดสำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ทานเนื้อสัตว์

ฟิวเจอร์ฟาร์ม เอไอ ระบบโรงเรือนเห็ดโคนญี่ปุ่นที่ใช้เทคโนโลยี IoT และปัญญาประดิษฐ์ ช่วยควบคุมระบบการปลูกร่วมกับเกษตรกรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ พร้อมรับซื้อผลผลิตเพื่อจัดการตลาดที่มีความต้องการสูงและราคาดี

นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

เมอร์ลิเนียม ฟาร์ม แก้ปัญหาการทำเกษตรอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยีผลิตพลังงานในตัวด้วยแสงความเข้มต่ำต้องการแดดเพียงเล็กน้อย ก็สามารถสร้างฟาร์มอัจฉริยะไร้สายประหยัดพลังงาน

ฟาร์มคอนเน็ค เอเชีย ฟาร์มเมล่อน ที่ใช้ระบบควบคุมและติดตามการปลูกพืชด้วยข้อมูล ดูแลการให้น้ำให้ปุ๋ยในแปลงกลางแจ้งและโรงเรือนด้วยเทคโนโลยี IoT และเซ็นเซอร์ที่แม่นยำ

นวัตกรรมเพื่อการเกษตรและประมง

เอ็นเนอร์ยี่ออฟติงส์ ระบบประหยัดพลังงานไฟฟ้าสำหรับการเกษตรด้วย Extreme Electricity Saving รองรับการใช้ไฟฟ้าควบคุมระบบต่างๆ ในโรงเรือน และฟาร์ม ลดการใช้ไฟฟ้าได้ร้อยละ 20–30 ด้วยการจ่ายกระแสชดเชยเข้าไปในระบบ

นวัตกรรมเพื่อการสร้างช่องทางตลาดรูปแบบใหม่ให้เกษตรกร

ฟาร์มบุ๊คเฟรช แพลตฟอร์มตอบโจทย์การตลาดและการจัดการฟาร์ม ตั้งแต่การผลิตสู่ตลาดล่วงหน้า

ส่งสด ระบบช่วยบริการจัดการขายสินค้าทางการเกษตรสู่ผู้บริโภคและธุรกิจ ด้วยแนวทางหาคนมาจ่ายตลาดแทน ให้ได้ของสด ส่งตรงถึงบ้าน ร้านอาหาร และทุกธุรกิจที่ต้องการสินค้าเกษตร

วาริชธ์ บริการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่เหลือจากการจำหน่ายแบบครบวงจร ทุกมาตรฐานการผลิตพร้อมช่วยสร้างช่องทางออนไลน์ และส่งออก

สำหรับรางวัล The Best Performance AgTech Connext 2022 Award จากการตัดสินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และรางวัล The Popular AgTech Connext 2022 Award จากผลการโหวตของผู้เข้าร่วมงาน เป็นทีมส่งสดที่ได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท จาก ... และ 10,000 บาท จากทางโครงการ

 

ผู้สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

โทรศัพท์ : 02-017 5555 ต่อ 552 (กุลิสรา)

มือถือ : 084-229 4994

อีเมล : Kulisara.b@nia.or.th

เว็บไซต์ : https://agtechconnext.nia.or.th/

Facebook : https://www.facebook.com/agtechconnext

AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article
GrabSpark

นักศึกษา มธ. ชนะเลิศประกวดแผนธุรกิจ GrabSpark ดันไอเดียต่อยอดบริการ

Next Article
เมตาเวิร์ส

คุยเรื่อง เมตาเวิร์ส กับ อธิพัต เวอร์ติ ผู้ร่วมก่อตั้ง Harbour Immersive

Related Posts