จากปี 2021 ที่เป็นช่วงบูมของสตาร์ทอัพทั่วโลก เราจะเห็นตัวเลขที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในปีนี้ ทั้งในแง่ของจำนวนและมูลค่าการลงทุนจาก VC
เสริมด้วยข้อมูลจาก CB Insights ที่ระบุว่าตัวเลขการระดมทุนของสตาร์ทอัพทั่วโลกในปีนี้ น่าจะอยู่ที่ราว 438,900 ล้านดอลลาร์
ถึงจะแม้จะดูเป็นตัวเลขที่สูง แต่จริง ๆ แล้ว ถือว่าลดลงจาก 630,300 ล้านดอลลาร์ ในปี 2021 ถึง 30%
สำหรับคนทำสตาร์ทอัพ ตัวเลขนี้ถือเป็นสัญญาณที่น่ากังวล ว่าในปี 2023 ทุกอย่างอาจเข้าสู่ภาวะชะลอตัว หรือที่เรียกกันว่า Tech Winter รึเปล่า?
ตัวเลขอาจลดลง แต่โอกาสยังเปิดกว้าง
ในมุมของคุณกอราฟ อโรรา ผู้อํานวยการและหัวหน้าฝ่ายธุรกิจสตาร์ทอัพ ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก–ญี่ปุ่นAmazon Web Services (AWS)
คุณกอราฟ มองว่าถึงตัวเลขโดยรวมในปีนี้จะลดลง แต่ก็ยังถือว่ามีระดับการลงทุนที่สูงอยู่ เมื่อเทียบกับหลาย ๆ ปีก่อนหน้า (เช่นในปี 2020 ที่ตัวเลขการลงทุนอยู่ที่ 298,200 ล้านดอลลาร์)
ข้อมูลจาก CB Insights ยังระบุว่า 66% ของดีลที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี เป็นดีลสำหรับสตาร์ทอัพที่อยู่ในช่วง early stage ซึ่งอาจตีความได้ว่าไอเดียใหม่ ๆ ยังเป็นที่สนใจของนักลงทุนอยู่
ในแง่ของการทำงาน AWS ก็พร้อมสนับสนุนสตาร์ทอัพที่เพิ่งเริ่มต้น ให้ดําเนินธุรกิจบนคลาวด์ได้อย่างไม่สะดุด ด้วยสิทธิประโยชน์จาก โปรแกรม AWS Activate
ตั้งแต่การสนับสนุนด้านเทคนิคและการฝึกอบรม การให้คําปรึกษาทางธุรกิจ และตัวเลือกในการสมัครขอเครดิตเพื่อการประมวลผลบนระบบคลาวด์ของ AWS ซึ่งมีบริการให้เลือกมากกว่า 200 รายการ
เกือบสิบปีในการให้บริการโปรแกรม AWS มีส่วนสนับสนุนสตาร์ทอัพหลายแสนรายทั่วโลก ซึ่งก็รวมถึงสตาร์ทอัพไทย อย่าง Globish, MuvMi และ ENRES ด้วย
นอกจากการสนับสนุนของ AWS คุณกอราฟ ยังมีคำแนะนำสำหรับคนทำสตาร์ทอัพในการผ่านช่วงเวลาท้าทายอย่างTech Winter ให้นำไปปรับใช้ด้วย
1️⃣
ใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
ในสถานการณ์แบบนี้ นักลงทุนมักให้ความสำคัญกับปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก โดยเน้นที่รายได้มากกว่าการเติบโต
นักลงทุนอยากเห็นการใช้เงินทุนและการจัดการอย่างระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายหลักสำหรับสตาร์ทอัพในช่วง early stage อย่าง บุคลากร การตลาด และคลาวด์
หนึ่งในแนวทางที่สตาร์ทอัพสามารถนำไปใช้เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายตรงนี้ได้ คือประเมินว่าได้ใช้บริการคลาวด์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดหรือไม่
บริการจาก AWS ที่ช่วยซัพพอร์ตเรื่องนี้ได้ คือเครื่องมือที่ชื่อ “Trusted Advisor” ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายลง แต่เพิ่มประสิทธิภาพ และปรับปรุงความปลอดภัย รวมถึงให้คำแนะนำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งช่วยให้สตาร์ทอัพลดค่าใช้จ่ายในเรื่องคลาวด์ได้มากถึง 40%
ตัวอย่างของสตาร์ทอัพที่ได้ประโยชน์จากเครื่องมือนี้ คือ iMerit Technology สตาร์ทอัพด้าน AI ของอินเดีย ที่มีการเติบโตของรายได้เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าทุกปีในช่วงห้าปีที่ผ่านมา
ด้วยการใช้ Cloud Financial Management ของ AWS วิเคราะห์การใช้จ่ายบนระบบคลาวด์ เพื่อปรับขนาดการใช้บริการให้เหมาะสม จนลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ถึง 20% ต่อเดือน
2️⃣
การเพิ่มทักษะเพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืน
นอกจากการลดค่าใช้จ่าย การเพิ่มทักษะสำคัญก็เป็นอีกแนวทางในการอยู่รอดของสตาร์ทอัพ
AWS Skill Builder มีหลักสูตรฟรีกว่า 500 หลักสูตร เพื่อเพิ่มทักษะและความรู้ด้านระบบคลาวด์ ซึ่งสอดคล้องวัฒนธรรมแบบสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นการเติบโต
หนึ่งในแนวทางของ AWS ในการช่วยให้ลูกค้าเติบโต คือการแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับ “วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม” ของAmazon ซึ่งเรียกกันติดปากว่า “every day being Day 1”
Bizzi บริษัทบัญชีจากเวียดนามที่ขับเคลื่อนด้วย AI คือตัวอย่างของการเรียนรู้เพื่อเติบโต เพราะถึงจะเพิ่งเริ่มต้นตอนช่วงปลายปี 2021 แต่สามารถขยายทีมเพิ่มเป็นสองเท่าในทุกปีต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
หนึ่งในเหตุผลสำคัญ คือ Bizzi ให้ความสำคัญกับเรื่องคนเป็นอันดับแรก เพื่อวางรากฐานทางวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งด้วยการนำวิธี “Two Pizza Team” หรือการจำกัดจำนวนพนักงานในแต่ละโปรเจกต์ไปใช้
นำไปสู่ความคล่องตัว และให้อำนาจคนทำงานในการสร้างผลิตภัณฑ์และฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่เป็นนวัตกรรมออกสู่ตลาด
3️⃣
โฟกัสที่ไอเดียและโอกาส
คุณกอราฟ เชื่อว่าถึงตอนนี้ นักลงทุนบางส่วนจะยังกังวล และยึดแนวทางเดิม ๆ
แต่ AWS กลับมองว่าช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน อย่าง Tech Winter อาจเป็นโอกาสดีในการเปิดตัวและขยายธุรกิจสตาร์ทอัพ
เพราะโอกาสที่ไอเดียดี ๆ จากผู้ประกอบการ จะได้รับเงินลงทุนนั้น มีอยู่เสมอ
ขณะที่ AWS ก็พร้อมสนับสนุนสตาร์ทอัพในการสร้างนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาสำคัญ ๆ ต่อไป และกำลังรอที่จะได้เห็นไอเดียที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้นในช่วงเวลาแบบนี้
AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า