2566

องค์กรแห่งอนาคต ต้องเคลื่อนไหวอย่างไรในปี 2566

แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายแล้ว แต่ปัญหาอื่น อย่าง เงินเฟ้อ ความตึงเครียดทางการเมือง และซัพพลายเชน กำลังส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

รายงานจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่าทิศทางเศรษฐกิจในปี 2566 GDP ไทย จะขยายตัวในช่วง 3.2-4.2% โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักยังมาจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจโลก เนื่องจากมีหลายปัจจัยเสี่ยง ทั้งเงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ย และภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าหลายประเทศ

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน จึงต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง มีการวางแผนและจัดระเบียบการใช้จ่ายระยะสั้นอย่างรอบคอบ เพื่อการทำกำไร ควบคู่ไปกับการวางเดิมพันครั้งใหญ่ เพื่อผลตอบแทนในระยะยาวหลังฟื้นตัว

องค์กรต่าง จึงต้องวางแผนล่วงหน้าจนถึงปี 2573 ไม่ใช่แค่ปี 2566

 

คำถามสำคัญที่ธุรกิจทั้งหลายต้องถามตัวเองคือ จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป

ต่อจากนี้ความต้องการของลูกค้าจะเป็นอย่างไร นวัตกรรมด้านการผลิตจะเป็นอย่างไร และภาพรวมของธุรกิจจะเป็นไปในทิศทางใด 

เป็นเรื่องยากที่จะวิเคราะห์สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในหลาย เรื่องพร้อมกัน แต่บริษัทที่วิเคราะห์ได้เร็ว และมีประสิทธิภาพก็พร้อมฟื้นตัวจากผลกระทบได้มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นกว่า

 

เทคโนโลยีคือเครื่องมือสำคัญในการปรับสมดุล

ในระยะสั้น บทบาทของเทคโนโลยี คือช่วยให้ธุรกิจดำเนินต่อได้ในช่วงวิกฤต พนักงานทำงานจากระยะไกลได้ ช่วยให้ธุรกิจมีความคล่องตัว รวมถึงติดต่อสื่อสารภายนอกองค์กรผ่านช่องทางดิจิทัล

ส่วนในระยะยาว องค์กรต้องใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เพื่อสร้างความแข็งแรงแก่กระบวนการทำงานในภาพรวม ทั้งความคิดริเริ่ม และห่วงโซ่ที่เชื่อมโยงกระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ(value chain) ซึ่งจะปูทางไปสู่การเป็นองค์กรแห่งอนาคต

องค์กรธุรกิจที่ชาญฉลาด จะจัดลำดับความสำคัญใหม่ เพื่อการลงทุนที่ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นหลักกระบวนการอัตโนมัติและการปรับขยายเสริมข้อมูล ข้อมูลและการวิเคราะห์ และ DevOps ที่มีความคล่องตัวจะขับเคลื่อนนวัตกรรมในธุรกิจและรูปแบบการทำงานใหม่

ขณะที่ธุรกิจเดินหน้า ดิจิทัลจะเป็นเครื่องมือปรับสมดุลที่เป็นทางลัดให้องค์กรฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และช่วยให้องค์กรแห่งอนาคตได้ใช้งานแพลตฟอร์ม มีระบบนิเวศเป็นศูนย์กลาง และขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

 

สร้างธุรกิจที่ยืดหยุ่น

การเปลี่ยนแปลงในเอเชียแปซิฟิก ทั้งเป็นเรื่องยากและน่ากังวล

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยดิจิทัลเทคโนโลยีในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ทำให้อุตสาหกรรมเกือบทุกแขนง ต้องหยุดทบทวนและประเมินกลยุทธ์ใหม่

องค์กรที่อยู่ในเส้นทางการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลแล้ว จะก้าวข้ามความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีโครงสร้างทางดิจิทัลที่มั่นคง ซึ่งสามารถลดผลกระทบจากโควิดให้เหลือน้อยที่สุดได้

ขณะที่ โอเพ่นซอร์ส คือองค์ประกอบสำคัญต่อการสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล บทบาทของมันช่วยองค์กรลดผลกระทบต่าง ได้มาก ด้วยความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้น และมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า

 ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในองค์กรไทยที่นำโซลูชันและแพลตฟอร์มโอเพ่นซอร์สของเร้ดแฮทไปช่วยให้บริการมีความคล่องตัว ปรับขนาดการทำงานได้ และยืดหยุ่น รองรับปริมาณงานพัฒนาแอปพลิเคชันจำนวนมากได้ ทั้งบนคลาวด์ และระบบภายในองค์กร ตอบโจทย์วิสัยทัศน์ในการเป็นธนาคารดิจิทัลระดับแนวหน้าในอาเซียนของธนาคารได้

ขณะที่ KBTG หน่วยงานด้านไอทีของธนาคารกสิกรไทย ผู้นำด้านธนาคารดิจิทัลในประเทศไทย ก็ใช้โซลูชันด้านโอเพ่นซอร์สของเร้ดแฮท เพิ่มประสิทธิภาพให้โครงสร้างพื้นฐานหลัก และใช้แพลตฟอร์มโอเพ่นซอร์ส เพิ่มประสิทธิภาพให้กระบวนการต่าง

ซึ่งช่วยลดเวลาในการจัดเตรียมระบบ และการออกแอปพลิเคชันจากสามวันเหลือเพียงวันเดียว จนสามารถส่งมอบแอปพลิเคชัน และฟีเจอร์ใหม่ ได้เร็วขึ้น

 

โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ยืดหยุ่นคือรากฐานของนวัตกรรม

องค์กรแห่งอนาคต ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ทันสมัย ยืดหยุ่น คล่องตัว และปรับขนาดการทำงานได้ไม่จำกัดเพื่อที่จะสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริการ และประสบการณ์ต่าง ผ่านช่องทางดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

IDC ICT Predictions คาดการณ์ว่าจะมีองค์กรธุรกิจในเอเชียปรับตัวสู่การเป็น digital-first มากขึ้นเรื่อย โดยชี้ว่าภายในปี 2566 หนึ่งในสามของบริษัททั้งหมด จะมีรายได้จากผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลมากกว่า 30% ของรายรวมเทียบกับอัตราส่วนในปี 2563 ซึ่งอยู่ที่ 1 ใน 5

สิ่งที่จำเป็นมากเพื่อการเป็น digital-first คือความสอดคล้องระหว่าง คน กระบวนการ และเทคโนโลยี

และหนึ่งในเครื่องมือสำคัญเพื่อการบรรลุเป้าหมายนี้ คือ โอเพ่นซอร์ส ที่มีจุดเด่น คือสามารถนำคนที่มีประสบการณ์หลากหลายมาทำงานร่วมกันเพื่อแก้ความท้าทายที่พบ และจุดประกายแนวคิดใหม่

แนวโน้มทางธุรกิจในอีกสองสามปีต่อจากนี้ยังคงมีความผันผวนสูง เพราะมีความท้าทายทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับมหภาค และระดับโลกเพิ่มขึ้น

ความสำเร็จขององค์กรใน 3 ปีนับจากนี้ จะถูกกำหนดด้วยความสามารถขององค์กรนั้น ว่า จะรับมือกับความท้าทายที่เข้ามาเหล่านี้ได้ดีเพียงใด

พร้อมตั้งคำถามกับตัวเองควบคู่กันไปว่า จะเคลื่อนไหวต่อไปอย่างไร

บทความโดย มาร์เจ็ท แอนเดรส, รองประธานและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก, เร้ดแฮท

AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article
ChatGPT

Microsoft เล็งเจาะเสิร์ชเอ็นจิน ทุ่ม 3.3 แสนล้าน ลงทุนในผู้สร้าง ChatGPT

Next Article
VALL-E

VALL-E : AI เลียนเสียงมนุษย์จาก Microsoft ใน 3 วินาที

Related Posts