SEAT Conference 2023 อาหาร ความยั่งยืน

เก็บตกจาก SEAT Conference 2023 (2) : อาหารกับความยั่งยืน คืนความสมดุลให้โลกใบนี้

ปัจจุบัน แนวคิดด้านการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน หรือ ESG (Environment, Social, Governance) กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกองค์กรธุรกิจพยายามนำมาใช้ เพื่อสะท้อนบทบาทความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย และโลกใบนี้

แต่ข้อสังเกตหนึ่งที่ Raffael Wohgensinger ผู้ก่อตั้ง Formo สตาร์ทอัพผู้ผลิตชีสโดยไม่ใช้ผลิตภัณฑ์จากนม กล่าวในงาน SEAT Conference 2023 คือ

เมื่อพูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม เรามักมองข้ามที่มาของอาหาร เมื่อเทียบกับเรื่องอื่น

เพราะในความเป็นจริง อุตสาหกรรมอาหารส่งผลกระทบต่อโลกใบนี้เราที่เราอยู่ในแทบทุกด้าน

และนี่คือส่วนหนึ่งของความพยายามจากสตาร์ทอัพจากทั่วโลก เพื่อเพิ่มผลผลิตควบคู่ไปกับการคืนสมดุลให้โลกใบนี้

 

Future of Animal-Free Food – Rafael Wohlgensinger

การทำปศุสัตว์ คือหนึ่งในสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ทั้งความจำเป็นในการถางป่าเพื่อใช้ที่ดินจำนวนมหาศาล

รวมถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงถึง 2,000 ล้านตันต่อปี มากกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่าง เรือเดินสมุทร

Raffael Wohgensinger เล่าว่าเขาก่อตั้ง Formo ขึ้น เพื่อร่วมแก้ไขปัญหานี้

การผลิตชีสของ Formo ไม่ได้ใช้วัตถุดิบจากนมวัว ซึ่งเป็นผลผลิตจากปศุสัตว์ แต่ใช้การควบคุมการหมักจุลินทรีย์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

ซึ่งมีตั้งแต่ซอฟต์ชีส อย่าง มอสซาเรลลา และ ริคอตตา ไปถึงชีสบ่ม อย่าง เชดดาร์ และ กรูแยร์

ซึ่งไม่เพียงช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 97% แต่ยังลดการใช้น้ำกับผืนดินลง 10% และ 1% ตามลำดับ

 

Future of Regenerative Agriculture – Ingo Puhl

เช่นกัน ในการทำเกษตรกรรม ยิ่งเราพยายามเพิ่มผลผลิตมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นผลเสียกับสิ่งแวดล้อมมากเท่านั้น

ทั้งปริมาณน้ำและผืนดินที่ต้องใช้งานมากขึ้น หรือสารตกค้างที่ปนเปื้อนทั้งในดินและน้ำ ฯลฯ

Ingo Puhl จาก South Pole Group ที่ปรึกษาด้านการลดมลภาวะแก่ภาคเอกชนและภาครัฐทั่วโลก เตือนว่าภายในปี2050 หากยังไม่มีการแก้ไขใด สภาพของดินบนโลกจะถดถอยอย่างหนัก

และจะย้อนกลับมาส่งผลเสียต่อพวกเราเองในที่สุด เพราะอาหารที่ได้จากสภาพดินที่ปนเปื้อน ก็จะทำให้เราเจ็บป่วยไปด้วย

ในมุมของ Puhl คือถึงเวลาแล้ว ที่เราจะต้องหันมาให้ความสนใจกับความยั่งยืนมากขึ้น

ลดการใช้สารเคมีต่าง และให้สารอาหารแก่พืชในปริมาณที่ถูกต้อง ไม่เกิดการตกค้าง

 

Future of Robotics in Agriculture – Gabe Sibley

สิ่งที่ Puhl กล่าวถึง เกิดขึ้นแล้ว และกำลังถูกผลักดันไปสู่วงกว้างโดย Verdant Robotics ที่ก่อตั้งโดย Gabe Sibley

Sibley เล่าว่าสิ่งที่เขาและทีมงานกำลังทำอยู่ ไม่ได้มีเป้าหมายแค่ช่วยเกษตรกรในการลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร

แต่การผสมผสานเทคโนโลยีหลากรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญหลากสาขาที่มารวมตัวกัน ทั้ง AI, IoT, ระบบอัตโนมัติ ฯลฯ

คือที่มาของเพื่อให้เกิดการเกษตรแม่นยำแบบ Verdant Robotics

ตั้งแต่การสแกนผืนดิน และตัวพืชผลในแปลง และนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อหาปริมาณสารอาหารและน้ำที่เหมาะสม

และนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ระบบอัตโนมัติกับหุ่นยนต์ในการให้สารอาหาร

ซึ่งจะลดสารตกค้างจากการใช้สารเคมีต่าง ได้ถึง 95% ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายถัดไปของ Sibley และทีมงานคือช่วยรักษาสภาพแวดล้อมให้กลับสู่สมดุลได้

 

Future of Earth Saving & Inclusive Tech – Pakpoum Mahasith

นอกจากปศุสัตว์ และเกษตรกรรมแล้ว แม้แต่การผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด ก็ส่งผลกับสภาพแวดล้อมของโลกเช่นกัน

เพราะเมื่อคนไม่เชื่อมั่นในการดื่มน้ำประปาที่มีสารปนเปื้อน น้ำขวดจึงเป็นทางเลือกแรก ของคนที่ต้องการดื่มน้ำสะอาด

แต่ที่มาของน้ำดื่มแต่ละขวดนั้น มีตั้งแต่การขุดเจาะเพื่อเข้าถึงแหล่งน้ำใต้ผิวดิน ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาผิวดินทรุด

ฟิลเตอร์ของระบบบำบัดน้ำแบบ Reverse Osmosis ที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ จนกลายเป็นปัญหาเรื่องการกำจัด

และสำคัญที่สุด คือขวดพลาสติกที่กลายเป็นขยะมหาศาลซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยในทุก ปี

ทางเลือกของการผลิตน้ำดื่มที่รบกวนโลกใบนี้น้อยที่สุด จึงอยู่ที่การนำน้ำในอากาศหรือ Atmospheric Water มาใช้งาน

ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณภาคภูมิ มะหะสิทธิ์ ผู้ก่อตั้ง Ecolotech สตาร์ทอัพของไทยผู้ผลิตน้ำดื่มสะอาดจากโมเลกุลอากาศ มองเห็นความสำคัญ และเริ่มต้นลงมือทำแล้ว

เพื่อเป้าหมายที่ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ แต่มีประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนควบคู่กัน ซึ่งในมุมมองของคุณภาคภูมิ นี่จะเป็นตัวแปรสำคัญให้นานาชาติหันมาสนใจวงการสตาร์ทอัพและนวัตกรรมของไทยมากขึ้นในอนาคตด้วย

 

Future of Seafood – Dr.Sebastian Rakers

นอกจากผิวโลก มหาสมุทรก็กำลังประสบปัญหาเรื่องความสมดุลเช่นกัน

ปัจจุบัน อาหารทะเลคือแหล่งโปรตีนอันดับ 1 ของโลก ด้วยปริมาณการผลิตที่สูงถึง 181 ล้านตันต่อปี

เมื่อเทียบกับ ไก่ (131 ล้านตัน) หมู (118 ล้านตัน) วัว (70 ล้านตัน) และ แกะ (16 ล้านตัน)

แต่ปัญหาคือปริมาณสัตว์น้ำในทะเลกำลังลดลงเรื่อย เพราะการประมงเป็นอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อระบบนิเวศในมหาสมุทรโดยตรง

Bluu Seafood ที่ก่อตั้งโดย Dr. Sebastian Rakers พยายามนำเสนอทางเลือก เพื่อแก้ปัญหานี้ ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่าcultivated seafood หรืออาหารทะเลที่เพาะจากห้องแล็บ

ซึ่งไม่เพียงช่วยลดการจับสัตว์ที่ส่งผลกับระบบนิเวศ แต่ในอนาคต ยังสามารถผลิตอาหารที่มีคุณค่าเทียบเท่ากับปลาหรือสัตว์อื่น ในทะเลได้ในจำนวนมาก เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องด้วย

ปัจจุบัน Bluu Seafood อยู่ในช่วงของการทำ Pilot Scaling เพื่อปูทางไปสู่ Mass Production  ในอนาคต

และ Dr. Rakers ก็ทิ้งท้ายแบบชวนอมยิ้ม ว่าถ้าทำสำเร็จ นี่จะเป็นวิธีรักษ์โลกที่มีรสชาติดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาเลยทีเดียว(Most delicious way to save whole planet.)

ขอบคุณ นายแพทย์ศุภชัย ปาจริยานนท์ และ แมคฟิว่า (MCFIVA) ที่ปรึกษาการตลาดและโฆษณาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ ผู้จัดงาน SEAT Conference 2023 สำหรับการสนับสนุนบัตรเข้าชมงานทั้งสองวันด้วยครับ

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article
SEAT Conference 2023 Chris Yeh AI

เก็บตกจาก SEAT Conference 2023 (1) : “ใช้งาน AI อย่างผู้กำกับภาพยนตร์ ไม่ใช่ช่างไม้…” Chris Yeh

Next Article
อิตาลี เนื้อสัตว์จากห้องแล็บ

อิตาลี เตรียมแบน เนื้อสัตว์จากห้องแล็บ ชี้ปกป้องวัฒนธรรมอาหาร

Related Posts