สัจธรรมของชีวิตคือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย
ซึ่งแม้แต่คนในแวดวงเทคโนโลยีอย่าง Benjamin Rolnik ผู้อำนวยการของ Stanford Healthcare Innovation Lab (SHIL) ก็เข้าใจดี
แต่ Rolnik เชื่อว่าการแพทย์ในศตวรรษที่ 21 นั้นก้าวหน้าไปถึงระดับช่วยลดความทุกข์จากอาการเจ็บป่วยให้กับมนุษย์เราได้แล้ว
มาทำความรู้จักกับเหล่าสตาร์ทอัพจาก SEAT Conference 2023 ที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดีขึ้น ด้วยพลังจากเทคโนโลยี
Future of Precision Medicine and Well Being – Benjamin Rolnik
Rolnik เล่าว่าเป้าหมายของ SHIL คือการมุ่งเน้นหาทางแก้ในสิ่งที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข (Solve the unsolved problem)
โดยผสมองค์ความรู้ ทั้งด้านชีววิทยาและวิทยาการข้อมูล (Data Science) เพื่อเก็บข้อมูล ประมวลผล วิเคราะห์และทำความเข้าใจองค์ประกอบย่อยของโรคร้ายและอาการเจ็บป่วย
ซึ่งจะนำไปสู่คำตอบของปัญหาเหล่านั้น ทั้งในแง่ของการรักษาและป้องกัน ไม่ใช่แค่ในแบบ mass เท่านั้น แต่ยังลงลึกถึงรายละเอียดแบบเฉพาะบุคคล (patient-centered)
เมื่อเข้าใจถึงระดับนี้ได้แล้ว เราก็จะก้าวข้ามจากบทบาทของแพทย์ที่มีหน้าที่รักษาเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยแบบที่เป็นมาในศตวรรษก่อน ๆ
สู่การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุก ๆ ด้าน รวมถึงป้องกันหรือลดโอกาสเจ็บป่วยแทน ซึ่งปัจจุบัน SHIL ก็มีส่วนผลักดันให้เกิดผลิตภัณฑ์/บริการทางการแพทย์ก้าวหน้ามากมาย
ตั้งแต่ Neoteryx และ iollo เครื่องมือสำคัญในการเก็บข้อมูลของผู้ป่วย
MyPHP แอปพลิเคชันช่วยในการเช็คสุขภาพแบบเรียลไทม์
Exosomes เวชศาสตร์ฟื้นฟู ซึ่งปัจจุบันรักษาแผลไฟลวกสาม
ไปจนถึงการดูแลด้านสุขภาพจิต ซึ่งเป็นอีกตัวแปรสำคัญในการมีชีวิตที่สมบูรณ์ เช่น HAPPI แชทบอทคอยแนะนำการทำสมาธิ หรือ Elemind ปัญญาประดิษฐ์คอยช่วยควบคุมคุณภาพในการหลับ ฯลฯ
Rolnik ยังกล่าวถึงเป้าหมายต่อไปของ SHIL ว่าคือการทลายกำแพงเดิม ๆ ของระบบสาธารณสุข เพื่อให้เทคโนโลยีการแพทย์แห่งศตรวรรษที่ 21 เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็เข้าถึงได้ เพื่อมุ่งสู่การมีชีวิตที่ดีขึ้น
Future of Healthcare – Dorothea Koh
ขณะที่เทคโนโลยีทางการแพทย์หลายด้านที่ Rolnik พูดถึง ยังเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับหลายคน เพราะข้อจำกัดด้านระบบสาธารณสุข
AI คือเครื่องมือคนจำนวนมาก เข้าถึงได้ง่ายขึ้นในปัจจุบัน
ด้วยคุณสมบัติเด่นของมันที่ทำงานได้รวดเร็ว สามารถทำซ้ำได้ตลอด 24 ชั่วโมง และเพิ่มปริมาณได้ง่าย
มันจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ ในฐานะ AI Clinical Assistant อย่างที่ BOT MD สตาร์ทอัพจากสิงคโปร์ที่มี Dorothea Koh เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง เริ่มต้นเดินหน้าไปแล้ว
BOT MD คือแชทบอทซึ่งจะถูกมอบหมายให้รวบรวมและดึงข้อมูลที่จำเป็นสำหรับแพทย์และผู้ป่วยสำหรับใช้งาน
และยังสามารถติดตั้งผ่าน API ในแอปแชท อย่าง WhatsApp, Messenger หรือ Line เพื่อช่วยในการสื่อสารหรือให้ข้อมูลระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยสะดวกและคล่องตัวมากขึ้น
หนึ่งในเคสตัวอย่างที่ทำให้ BOT MD เติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคอาเซียน คือการลดช่องว่างในการสื่อสารระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิดนั่นเอง
Koh มองว่านี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะในอนาคต AI จะฉลาดขึ้นเรื่อย ๆ จากการเทรนโดยข้อมูลหลายแหล่งที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งจะช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคได้หลากหลายมากขึ้น (Multimodal Biomedical AI)
นอกจากนี้ ในระหว่างพาเนล Navigating The Challenges of AN AI Driven World เธอยังมองว่าในอนาคต เมื่อโลกมีประชากรมากขึ้น มีโอกาสสูงที่จำนวนแพทย์จะมีไม่พอรองรับ
เราอาจให้ผู้สูงอายุอยู่บ้าน โดยให้ AI เป็นผู้ช่วยคอยตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ให้ข้อมูลจำเป็นสำหรับการดูแลสุขภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นการลดภาระของแพทย์ได้อีกทาง
ขอบคุณ นายแพทย์ศุภชัย ปาจริยานนท์ และ แมคฟิว่า (MCFIVA) ที่ปรึกษาการตลาดและโฆษณาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ ผู้จัดงาน SEAT Conference 2023 สำหรับการสนับสนุนบัตรเข้าชมงานทั้งสองวันด้วยครับ
AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า