DeeMoney อัศวิน

คุยเรื่อง Next Big Things ในโลกฟินเทคกับ อัศวิน พละพงศ์พานิช แห่ง DeeMoney

ในโลกการเงินยุคปัจจุบันนั้น มีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีใหม่ อยู่ตลอด

การสังเกตเห็นสัญญาณของความเปลี่ยนแปลงล่วงหน้าก่อนจะมาถึง จึงจำเป็นมากสำหรับทุกฝ่าย ตั้งแต่สถาบันการเงิน ฟินเทค หรือแม้แต่ตัวผู้ใช้งาน

การรับฟังข้อมูลกับคนในวงการ คือวิธีลัดที่ช่วยให้เราเห็นภาพของสิ่งที่กำลังจะมาถึงได้ง่ายขึ้น

ทีมงาน AHEAD ASIA ได้รับโอกาสนั้น ในการพูดคุยกับคุณอัศวิน พละพงศ์พานิช ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ DeeMoney ฟินเทคสตาร์ทอัพ ผู้นำบริการโอนเงินระหว่างประเทศของไทย ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองในพาแนล The Next Big Things of Fintech ของงาน CTC 2023 เมื่อ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา

Virtual Bank และ Open Banking คือสิ่งที่ไม่อาจเลี่ยง

ในระหว่างเซสชั่น มีการพูดถึงเทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบที่มีความเป็นไปได้ในโลกของฟินเทค ทั้ง DeFi, บล็อกเชน, CBDC ฯลฯ

แต่ในมุมของผู้บริหารสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นตลาดที่ต้องมีใบอนุญาต อย่างคุณอัศวิน เทคโนโลยีเหล่านี้ยังเป็นเรื่องที่ทาง DeeMoney ไม่สามารถเข้าไปแตะต้องโดยตรงได้

Next Big Things ที่คุณอัศวินมองว่าจะเกิดขึ้นแน่นอนคือเรื่องของ Virtual Bank (ธนาคารพาณิชย์แบบไร้สาขา) และ Open Banking (การใช้ข้อมูลทางการเงินร่วมกันระหว่างสถาบันการเงินผ่าน API)

คุณอัศวินมองว่าเมื่อสองสิ่งนี้ถูกนำมาใช้ บทบาทของธนาคารในอนาคตอันใกล้ก็จะเปลี่ยนไป จากเดิมที่อยู่ในฐานะผู้ให้บริการ ก็จะเปลี่ยนไปสู่การเป็นโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) แทน และดึงสตาร์ทอัพสายฟินเทคต่าง เข้าไปร่วมด้วย เพื่อทำหน้าที่ผู้ให้บริการแทน

เปรียบเหมือนธนาคารเป็นทางด่วน โดยที่ฟินเทคต่าง เป็นรถที่วิ่งอยู่บนนั้น และผู้ใช้งานทั่วไปอย่างเรา ก็คือผู้โดยสาร

คุณอัศวินยกตัวอย่าง Apple ที่ปัจจุบันจับมือกับ JP Morgan เพื่อให้บริการในลักษณะนี้ ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ใช้งานในซีกโลกตะวันตก

ฟินเทคคือพันธมิตร ไม่ใช่คู่แข่งของสถาบันการเงิน

คุณอัศวินอธิบายว่า แนวคิดเรื่อง Open Banking เป็นอีกครั้งที่ย้ำว่าฟินเทคไม่ใช่คู่แข่งของธนาคารหรือสถาบันการเงิน

เพราะในฐานะ Infrastructure ธนาคารก็สามารถมีบริษัทแบบ Apple เข้ามาอยู่ในโครงสร้างของตนได้เป็นร้อย บริษัท เช่น ฟินเทครายไหนถนัดด้านโอนเงินต่างประเทศ ฟินเทคไหนถนัดด้าน wealth management ฯลฯ

แทนที่ธนาคารจะเป็นผู้ให้บริการกับผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง และไม่สามารถโฟกัสได้เต็มที่ ฟินเทคที่มาเชื่อมต่อกับธนาคาร ก็จะมาแบ่งเบาภาระตรงนี้ โดยที่ธนาคารจะยังได้ประโยชน์จากเรื่องค่าธรรมเนียมต่าง แทน

เมื่อกำหนดบทบาทที่ชัดเจนได้แล้ว การแข่งขันจะไปตกอยู่ที่ฟินเทค เพราะฟินเทคหนึ่งรายจะต้องเป็น niche player ที่ถนัดที่สุดในหนึ่งเรื่องให้ได้ เหมือนที่ DeeMoney เลือกเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการโอนเงินระหว่างประเทศ แทนที่จะพยายามให้บริการทุกอย่างได้เหมือนธนาคาร

อีกทางเลือกของฟินเทคสตาร์ทอัพ นอกจากการจับกับธนาคาร ก็คือการเข้าไปร่วมงานกับซูเปอร์แอป ที่ในหนึ่งแอปก็จะมีหลายบริการแยกย่อยไปตามความถนัดของสตาร์ทอัพแต่ละราย

คนที่จะได้ประโยชน์เต็ม จากตรงนี้ ก็คือผู้ใช้งานทั่วไป เพราะจะมีออปชั่นมากขึ้น ค่าบริการลดลง เพราะมีการแข่งขันสูงในหมู่ผู้เล่น

อนาคตที่ทุกคนต้องปรับตัว

เมื่อเวลานั้นมาถึง คุณอัศวินมองว่าทุกฝ่ายต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับโลกทางการเงินยุคใหม่ ส่วนจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่นั้นวิธีการดูสัญญาณที่ง่ายที่สุด ก็คือความเปลี่ยนแปลงในซีกโลกตะวันตก

คุณอัศวินอธิบายว่าเพราะที่นั่นเป็นตลาดที่เปิดกว้าง กฎหมายเอื้อให้สร้างสิ่งใหม่ ได้เต็มที่ การดิสรัปท์จึงเกิดขึ้นเร็วมาก

Open Banking และ Virtual Bank ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในโลกตะวันตก

ในอดีต เราอาจใช้เวลานานเป็นสิบปีในการเปลี่ยนตาม เพราะมีข้อจำกัดเรื่องกฎหมาย นักลงทุน ฯลฯ แต่ปัจจุบันโลกแคบลง ความเปลี่ยนแปลงก็น่าจะใช้เวลาสั้นลงไปด้วย

เมื่อเห็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มขึ้นจากฟากโน้น การเตรียมพร้อมเพื่อปรับตัวก็เป็นสิ่งจำเป็น เหมือนที่ สวัสดีช้อป บริษัทแม่ของ DeeMoney ต้อง pivot ตัวเองมาแล้ว 4 ครั้งในการดำเนินธุรกิจมา 21 ปี

ถ้าแบรนด์แข็งแรง คนแข็งแกร่ง การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ปัญหา

คุณอัศวินแนะนำถึงคนที่ไม่แน่ใจว่าต้องเตรียมตัวอย่างไรสำหรับการ pivot ในอนาคต ให้ยึดหลักเกณฑ์สองข้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรียนรู้จาก วอร์เรน บัฟเฟตต์

คือ talent และ brand ขณะที่ product เปลี่ยนได้ตลอด เพราะถูกดิสรัปท์กันได้

คุณอัศวินเล่าว่าเขาเชื่อ 100% สำหรับคำพูดของ บัฟเฟตต์ ที่ว่าคนเป็นสินทรัพย์ (asset) ที่สำคัญที่สุดของบริษัท

แบรนด์ ก็เช่นกัน เพราะใช้เวลาสร้างนาน แต่ถูกทำลายได้ง่าย ถ้าบริการไม่ดีจนสูญเสียความเชื่อถือจากผู้บริโภคไป

เพราะในโลกธุรกิจยุคใหม่ เราอาจเห็นบริษัท A ที่ขายประกัน เปลี่ยนมาขายอย่างอื่นแทน

แต่ถ้าบริษัท A มีแบรนด์ที่ลูกค้าเชื่อถือ และมีทีมที่ทำงานได้ ตัวธุรกิจก็สามารถไปต่อได้

กรณีศึกษาของเรื่องนี้ที่ใกล้ตัวมากในมุมของคุณอัศวิน คือ Microsoft หรือ Google ที่หลายครั้ง ไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เลย

แต่การมีแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ และบุคลากรที่พร้อม การซื้อกิจการของบริษัทที่เล็กกว่า เพราะมองเห็นศักยภาพของผลิตภัณฑ์ และโอกาสทางธุรกิจ มาพัฒนาต่อจนประสบความสำเร็จ ก็เป็นเครื่องยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ปัญหา

ใครที่สนใจบริการโอนเงินข้ามประเทศจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ยาวนาน สามารถใช้บริการของ DeeMoney ได้ที่นี่ www.deemoney.com

และสำหรับคนที่มีบัตร CTC2023 FESTIVAL สามารถดูย้อนหลังเซสชั่น The Next Big Things of Fintech ที่คุณอัศวินร่วมพูด ได้ตั้งแต่ 1 .. นี้ เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 .. 66 ที่ www.creativetalkonline.com

ส่วนผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วม แต่สนใจอยากเข้าชมเซสชันต่าง สามารถซื้อเฉพาะบัตรดูย้อนหลังได้ที่https://bit.ly/3JsCbgI

และใครที่สนใจ CTC 2024 ก็สามารถซื้อบัตร Super Early Bird ได้เลยตั้งแต่ตอนนี้ ในราคาเพียง 1,000 บาท ที่https://bit.ly/3XoTwwS

AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article
E-commerce Listening Wisesight

ติดอาวุธให้ธุรกิจด้วย E-commerce Listening จาก Wisesight

Next Article
7 Innovation Awards 2023

10 ปี "7 Innovation Awards 2023" ยืนหยัดหนุน SMEs ไทยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ-สังคมอย่างยั่งยืนด้วยนวัตกรรม

Related Posts