McKinsey

5 ความท้าทายในอนาคตที่เอเชียต้องรับมือ ในมุมมองของ McKinsey

ปัจจุบัน เอเชียเติบโตขึ้นมาเป็นภูมิภาคที่มีบทบาทสำคัญต่อสภาพเศรษฐกิจของโลก ด้วยผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

แต่เมื่อโลกกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคใหม่อีกครั้ง เอเชียจะต้องปรับตัวอย่างไรบ้างกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง McKinsey Global Institute (MGI) เผย 5 ความท้าทายที่ภาคธุรกิจในเอเชียต้องรับมือ ด้วยการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ครั้งใหญ่

การเติบโตของภูมิภาคเอเชีย

30 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจเอเชียได้รับประโยชน์อย่างมากจากการเชื่อมต่อทั่วโลก การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ การขยายตัวของเมืองและจำนวนเงินทุนที่เพิ่มขึ้น จนปัจจุบันเป็นตัวแทนของกลุ่มคน “ส่วนใหญ่” ของโลก

ระหว่างปี 2015-2021 เอเชียมีส่วนช่วยให้ GDP โลกเติบโตถึงร้อยละ 52 และระหว่าง 2001-2022 ก็มีส่วนทำให้การค้าโลกเติบโตขึ้นร้อยละ 59 และมูลค่าการผลิตทั่วโลก เพิ่มขึ้นร้อยละ 53

เอเชียยังเป็นที่ตั้งของครัวเรือนชนชั้นกลางของโลก ถึงร้อยละ 56

5 ความท้าทายที่เอเชียต้องพบในยุคใหม่

อย่างไรก็ตาม ในงานวิจัยหัวข้อ Asia on the cusp of a new era มองว่า ในอนาคตอันใกล้ เอเชียจะต้องเผชิญกับความท้าทาย เมื่อโลกเราเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคใหม่ ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและการเมือง ทำให้ปัจจัยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงจะแตกต่างจากช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ใน 5 ประเด็นสำคัญ ดังนี้

[1] ความตึงเครียดทางการค้า

ปัจจุบัน เอเชียครองตำแหน่งทางแยกทางการค้าโลก จากเส้นทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก 80 เส้นทาง เอเชียมีส่วนร่วมในอย่างน้อย 49 เส้นทางจากด้านใดด้านหนึ่ง และอีก 22 เส้นทางจากปลายทางทั้งสองด้าน

นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของระเบียงเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุด 18 จาก 20 แห่งทั่วโลก และ 13 จาก 20 แห่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ปัจจุบันความร่วมมือทางการค้า เป็นตัวขับเคลื่อนการบูรณาการเชิงพาณิชย์มากกว่าความร่วมมือทางการเมือง คำถามคือความร่วมมือนี้จะดำเนินต่อไปได้หรือไม่ หากความตึงเครียดทางการค้าเพิ่มขึ้น

[2] การเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี

เอเชียมีความเป็นเลิศด้านการผลิตเทคโนโลยี ในกลุ่มผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ยานยนต์ไฟฟ้า และเซมิคอนดักเตอร์

สัดส่วนดังกล่าว มากกว่าร้อยละ 40 ของส่วนแบ่งรายได้ การลงทุนด้านการวิจัยพัฒนาและสิทธิบัตรที่ถือครองโดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชั้นนำ 3,000 แห่งทั่วโลก

แต่เมื่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนผ่านสู่ซอฟต์แวร์และโซลูชันเป็นหลัก เอเชียจะสร้างบทบาทใหม่ให้ตัวเองในฐานะผู้คิดค้นและผู้ผลิตเทคโนโลยีได้หรือไม่

[3] การขาดแคลนแรงงานและสังคมผู้สูงอายุ

ที่ผ่านมา เอเชียมีตัวเลขประชากรอยู่ในเกณฑ์ดีมาตลอด มีประชากรวัยทำงานอายุน้อยจำนวนมาก แต่ปัจจุบัน ชาติเหล่านี้กำลังเผชิญกับความท้าทายด้านประชากรสูงวัย

แม้จะยังมีแรงงานที่จำเป็นเพื่อขับเคลื่อนการเติบโต แต่ร้อยละ 90 ของอัตราการเติบโตที่คาดหวัง สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรระหว่าง พ.ศ. 2565-2593 (2022-2050) หรืออีกราว 30 ปีจากนี้ จะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ที่ระดับผลผลิตค่อนข้างต่ำ 

ความท้าทายคือเอเชียจะเปลี่ยนผ่านสู่ห่วงโซ่คุณค่าใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการกระจายตัวของแรงงาน และยกระดับประสิทธิภาพการทำงานอย่างทั่วถึงได้หรือไม่

[4] ความยั่งยืน และ carbon neutrality

เอเชียเป็นผู้บริโภคพลังงานรายใหญ่ที่สุดของโลก และยังต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอีกมากเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต

ปัจจุบันเอเชียยังคงตามหลังในด้านการใช้พลังงาน โดยการใช้พลังงานต่อหัว มีเพียง 1 ใน 3 ของค่าเฉลี่ย OECD ซึ่งในอนาคต การรักษาความมั่นคงทางพลังงาน อาจซับซ้อนมากขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดทางการค้า

ชาติในเอเชียยังติดอันดับประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนรายใหญ่ที่สุดของโลก ขณะที่ความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้น คือการต้องเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานสะอาด ขณะที่ภาพรวมของภูมิภาคยังต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมเป็นหลัก ทำให้ลดการปล่อยคาร์บอนได้ยาก

สุดท้ายแล้ว เอเชียจะสามารถรักษาความมั่นคงพลังงานที่จำเป็น ควบคู่กับลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้หรือไม่

[5] เงินทุน

ช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2564 (2000-2021) เอเชียดึงดูดเงินทุนได้สูงที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ มีมูลค่ารวม 91 ล้านล้านดอลลาร์

และในทศวรรษหน้า ความต้องการการลงทุนคงที่ของเอเชียอาจสูงถึง 140 ล้านล้านดอลลาร์ เกินกว่ามูลค่ารวม 89 ล้านล้านดอลลาร์ เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป

แล้วเอเชียจะสามารถรักษาเงินทุนที่จำเป็นในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาคที่คาดการณ์ได้ยากกว่าเดิม และแรงกดดันด้านงบดุลที่เพิ่มขึ้นได้หรือไม่ ความท้าทายจึงตกไปอยู่ที่การขยายตลาดการเงินและเพิ่มการจัดสรรทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน

มุมมองผู้บริหารต่อเอเชียยุคใหม่

การสำรวจล่าสุดมุมมองในกลุ่มผู้บริหารระดับสูง โดย Asia Business Council พบว่าร้อยละ 82 มีทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับยุคใหม่

อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 74 เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญหรือการเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้นครอบคลุมทั้ง 5 ประเด็นสำคัญ

ทีมวิจัยยังได้แบ่งองค์กรต่าง ๆ ออกเป็นสามประเภท ตามมุมมองของผู้บริหาร คือ

กลุ่มแรก คิดเป็นร้อยละ 10 มองว่าสามารถรักษาแนวทาง “การดำเนินธุรกิจตามปกติ” ได้ เพราะทั้ง 5 ประเด็นมีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ค่อนข้างต่ำสำหรับธุรกิจของตน

กลุ่มที่สอง ร้อยละ 16 รู้ว่าจำเป็นต้องทบทวนกลยุทธ์ขใหม่ในหนึ่งหรือสองประเด็น โดยเฉพาะประเด็นด้านเทคโนโลยีและพลังงาน

กลุ่มสุดท้าย ร้อยละ 74 เชื่อว่าต้องเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 3 ประเด็น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม และรายงานฉบับเต็มได้ ที่นี่

AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article
เศรษฐกิจสหรัฐฯ

LGT มอง เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ช่วง 'Soft Landing’ ส่งผลดีต่อทั่วโลก

Next Article
Prompt Engineering

Prompt Engineering ทักษะใหม่ สะพานเชื่อมระหว่างมนุษย์และ AI

Related Posts