UX

UX คืออะไร สำคัญอย่างไร และแบบไหนถึงเรียกว่า UX ที่ดี?

ทุกวันนี้ คำว่า UX น่าจะเป็นคำที่หลายคนคุ้นเคยกันมากขึ้น เพราะถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในการออกแบบหรือพัฒนาโปรดักต์

UX คืออะไร?

คำ ๆ นี้มีที่มาจากคำว่า User Experience หรือประสบการณ์ของผู้ใช้งาน เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นโดย ดอน นอร์แมน (Don Norman) ผู้ร่วมก่อตั้ง Nielsen Norman Group และผู้เขียน The Design of Everyday Things หนังสือที่ถือเป็นรากฐานของการออกแบบโดยวางผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง (User-Centered Design)

คำถามถัดมาคือแล้ว การออกแบบโดยให้ผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางคืออะไร?

อธิบายแบบเบสิคที่สุด คือการลดความซับซ้อนในการใช้งาน ไม่มากไป ไม่น้อยไป ให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ใช้ง่าย และรู้สึกดีกับมันจนอยากใช้ต่อ

หรือเปรียบเทียบกับศาสตร์อีกประเภทที่คนรู้จักกันดี ก็คือ ฮวงจุ้ย (Feng Shui) ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องของโชคลาภ แต่ในซีกโลกตะวันตก ก็มองว่าความพอเหมาะพอดี หรือสมดุล มีส่วนช่วยให้ชีวิตของเราดีขึ้นในทุก ๆ ด้าน

สำคัญอย่างไร?

เราอาจจะคุ้นเคยกับ User Experience ในแง่ของผลิตภัณฑ์ดิจิทัล แต่จริง ๆ ประสบการณ์ของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่จับต้องได้ หรือในโลกออนไลน์ ก็มีความสำคัญเหมือนกัน

การออกแบบที่ดี จะทำให้สินค้านั้นใช้งานง่าย ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ จนรู้สึกอยากใช้งานต่อ และนำไปสู่การบอกต่อ (word of mouth) ซึ่งส่งผลดีต่อแบรนด์ในตัวมันเอง โดยยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องการทำมาร์เก็ตติ้ง

คุณสมบัติของ UX ที่ดี

อ้างอิงจากคอร์ส Google UX Design Certificate ผลิตภัณฑ์ที่มี UX ดี ควรจะมีคุณสมบัติ 4 ข้อนี้

ในตอนต่อ ๆ ไป จะกลับมาเล่าเรื่องของ User Experience กันต่อ เพื่อจะได้เข้าใจศาสตร์นี้ให้มากขึ้น แล้วพบกันในซีรีส์ #URWHATUX ทาง AHEAD ASIA และเพจ ใครไม่เอ็กซ์​ UX ครับ

SOURCE :

Nielsen Norman Group

Coursera

Design Thinking ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญสำหรับการสร้าง User Experience ที่ดี ลองอ่านบทความเก่า ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่

ถามเจาะลึกเพื่อเข้าใจยูสเซอร์ ด้วย Empathy Interview

สร้างเข็มทิศสู่โซลูชั่น ด้วย Problem Statement

AHEAD ASIA นวัตกรรม ล้ำหน้า

Subscribe to Our Newsletter

Loading
Total
0
Shares
Previous Article
G4S

G4S คาดอาชญากรรมทางเศรษฐกิจไทย พุ่งแตะ 65% ติดอันดับ 2 โลก

Next Article
การทำงานแบบไฮบริด

NTT พบองค์กรทั่วโลก พร้อมสนับสนุน การทำงานแบบไฮบริด แค่ 48%

Related Posts